(หลวงพ่อเพชร)วัดไทรทองพัฒนา
พระครูวชิรกาญจนสารหลวงพ่อเพชร
วัดไทรทองพัฒนาจ.กาญจนบุรี
เมืองกาญจนบุรีเป็นแหล่งทองเที่ยวอันลือชื่อของเมืองไทยแล้วยังมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกมากมายตั้งแต่อดีตมา ในปัจจุบันนี้ได้มีพระนักพัฒนาและมีวิชาแก่กล้าอีกรูปหนึ่งที่เปรียบเสมือนเพชรที่กำลังส่องประกายเจิดจ้าแถบหุบเขา ตะนาวศรี คือ พระครูวชิรกาญจนสาร (หลวงพ่อเพชร ) วัดไทรทองพัฒนา ต.จระเข้เผือก อ. ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี
หลวงพ่อเพชรมีนามเดิมว่า วิเชียร พ่วงโสม เกิดวันที่๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นบุตรของ คุณพ่อชู พ่วงโสม และคุณแม่ดำ พ่วงโสม โดยท่านมีพี่น้องรวมกัน ๘ คนและท่านเป็นน้องสุดท้องพื้นเพเดิมท่านเป็นคน บ้านทุ่งลูกนก อ. กำแพงแสนจ. นครปฐม
ใน วัยเยาว์ท่านได้เล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนอ้อประทุนต. ทุ่งลูกนก อ. กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อออกจากโรงเรียนแล้วท่านได้ไปอยู่วัดสนามแย้เป็นเวลา ๒ปี จากนั้นได้กลับมาช่วยที่บ้าน ทำไร่ทำนา พออายุได้ ๒๐ ปีท่านได้อุปสมบท ณ วัดศาลาตึกโดยมีหลวงพ่อลำเจียกเป็นพระอุปฌาม์ ได้รับฉายาว่า”สุภัคโท” ซึ่ง หลวงพ่อลำเจียกเป็นพระเกจิอาจารย์ที่พื้นที่บริเวณใกล้เคียงวัดศาลาตึก นั้นรู้จักกันดี สื่อต่าง ๆเคยเข้ามาจะเขียนข่าวเรื่องราวของท่าน แต่ท่านไม่ชอบจึงไม่เปิดโอกาสให้กับสื่อแต่อย่างใด ประวัติของท่านจะเป็นลักษณะปากต่อปาก
พระอาจารย์ที่หลวงพ่อลำเจียกได้เคยไปศึกษาร่ำเรียนวิชาก็ล้วนแล้วแต่เป็นพระเกจิที่ขึ้นชื่อทั้งสิ้น เช่น
หลวงปู่ จันทร์ วัดบ้านยาง ท่านมีวิชามนต์จินดา มีชื่อเสียงอทางด้านพระปิดตา เนื้อเมฆพัดและยันต์นะปัดตลอด ท่านเป็นสหมิกธรรมกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐมกล่าวกันว่า ท่านสักยันต์ที่หน้าอกแล้วตบเปรี้ยงเดียวยันต์กลับมาอยู่ด้านหลังอย่างมหัศจรรย์
หลวงพ่อสว่าง วัดกำแพงแสน จ.นครปฐม ยอดพระเกจิอาคมขลังอีกรูปหนึ่ง ซึ่งไดถ่ายทอดวิชาให้หลวงพ่อลำเจียก ตลอด ๓ พรรษา
หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ซึ่งเก่งด้านวิชาหวายคาดเอว ซึ่งหลวงพ่อลำเจียกท่านสามารถนำมาสร้างได้อย่างเข้มขลัง มีอนานุภาพมากหวายทั้งเส้นต้องลงอักขระโดยรอบ สามารถกันภูตผีปีศาจ แก้คุณไสย ทำน้ำมนต์ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันหายากมาก
หลวงพ่อลำเจียกยังมีวิชาทำตะกรุดลูกอม ตำรับหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัวและศึกษาวิชายันต์จระเข้จากศิษย์สายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นอกจากนี้ยังไปศึกษาวิชาจาก หลวงพ่อแดงวัดทุ่งคอก จ.สุพรรณบุรี
ในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้ออกวัตถุมงคล ให้ลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนทั่วไป ได้เก็บไว้บูชาหลายรุ่นพอสมควร
เมื่อหลวงพ่อเพชร อุปสมบทแล้วท่านได้มุ่งมั่นศึกษา พระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยอย่างสุดความสามารถ
ตลอด เวลา ๘ พรรษา ที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดศาลาตึกแห่งนี้หลวงพ่อเพชรท่านได้คอยปรนนิบัตรรับใช้และเล่าเรียนศึกษาสรรพวิชาต่างๆจากหลวงพ่อลำเจียก หลวงพ่อเพชรได้หมั่นฝึกฝนปฏิบัติวิทยาคมต่าง ๆ จนหมดสิ้น จากนั้นท่านได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่เชียงรายล่องลงมาพะเยาแพร่ น่าน อุตรดิตถ์พิจิตรจนกลับมาถึงวัด ระหว่างที่ท่านธุดงค์ท่านได้เข้าไปช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ชาวกระเหรี่ยงที่ อ. ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
ขณะเดียวกันหลวงพ่อเพชรท่านยังได้ไปเรียนวิชาทำสีผึ้งและเมตตามหานิยม จากหลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง จ. สุรินทร์ พระเกจิดังภาคอีสานอีกด้วย
เมื่อหลวงพ่อลำเจียก วัดศาลาตึก ได้มรณภาพลงหลวงพ่อเพชรได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านเกิดของท่านคือวัดไร่แตงทอง อ.กำแพงแสน จ. นครปฐม และได้เรียนวิชาพญาเต่าเรือนอันลือชื่อจาก หลวงปู่หลิว ปณฺณโกซึ่งเปรียบเสมือนเทพเจ้าพญาเต่าเรือน ใครได้บูชาหรือมีพญาเต่าเรือนของหลวงปู่หลิว ย่อมทราบกันดีว่าเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณเพียงใด วิชาต่างๆหลวงปู่หลิวได้ รับการถ่ายทอดมาจากชาวกระเหรี่ยงแห่งยอดเขาตะนาวศรี , หลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ จ. เพชรบุรี, พ่อท่านคล้ายวัดสวนขันจ.นครศรีธรรมราช
หลวงปู่หลิว ปณฺณโกนับเป็นผู้ทรงอภิญญา และมีพุทธาคมสูงส่ง ท่านเป็นผู้มีเมตตาพร้อมที่จะช่วยเหลือที่จะช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ท่านพร้อมที่จะสร้างพร้อมที่จะเสียสละ ให้กับบวรพุทธศาสนาท่านไปอยู่ยังที่แห่งใดก็เปรียบเสมือนดวงประทีปของที่นั่น จนท่านได้ชื่อว่า พุทธบุตรที่ทุกคนยกย่อง
ความปรารถนาอันแรงกล้าของหลวงปู่หลิวเป็นผลให้อำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สถิตย์ทั่วจักรวาลดลบันดาลให้ท่านมีวาจาสิทธิ์กับญาณทิพย์มาขจัดปัดเป่าความทุกข์โศกของเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ได้อย่างเหลือเชื่อไม่ว่ายากดีมีจน ไม่ว่าไกลใกล้ที่ไหนท่านก็จะถามถึงทุกข์สุข ของทุกคนท่านได้ช่วยเหลือจนหมดสิ้น
วัตถุมงคลอันขึ้นชื่อของหลวงปู่หลิวก็คือพญาเต่าเรือน ใครมีไว้บูชาย่อมทราบกันดีว่าดีทั้งนอกดีทั้งในครบถ้วนกระบวนความทั้งเมตตา มหาอุตม์ แคล้วคลาด คงกระพันใช้ดีทั้งขึ้นโรงขึ้นศาล จนได้รับสมญานามว่า “ เทพเจ้าพญาเต่าเรือน”
หลวงพ่อเพชรได้ร่ำเรียนวิชากับหลวงปู่หลิวจนสำเร็จและทำการแทนหลวงปู่หลิวได้ ทุกอย่าง หลวงปู่หลิวจึงได้ส่งหลวงพ่อเพชร มาจำพรรษา ณวัดไทรทองพัฒนา ต.จระเข้เผือกอ. ด่านมะขามเตี้ย จ. กาญจนบุรี เมื่อพ.ศ.๒๕๓๙ และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและด้วยผลงานการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งที่มีต่อวัด และชุมชน ทำให้หลวงพ่อเพชรได้เป็นเจ้าคณะตำบลและยังได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น พระครูวชิรกาญจนสาร เมื่อ วันที่ ๕ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๔๘
ในเรื่องของการเรียนวิชาความรู้ต่างๆนั้นเหมือนฟ้ากำหนดขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดไทรทอง แห่งนี้ โดย พันโทละเอียด บัวขม ซึ่งเป็นหลานของหลวงปู่ยิ้มวัดหนองบัวได้นำตำราของหลวงปู่ยิ้มทั้งหมดมาถวายให้หลวงพ่อเพชรได้ศึกษาเล่าเรียนเพื่อเสริมปัญญาบารมีของท่านต่อไปในอนาคตภายภาคหน้า
หลวงพ่อเพชรถือว่าเป็นพระนักพัฒนาอีกรูปหนึ่งเพราะเพียงไม่กี่ปีท่านได้สร้างโบสถ์มหาอุตม์ ที่มีทรงแปลกตา และดูเด่นสง่า เป็นโบสถ์ที่รวมศิลปวัฒนธรรม5 ประเทศ ชื่อว่า “โบสถ์ มหาอุฒม์มงกุฎพระพุทธเจ้า”ภายในโบสถ์ประดิษฐานพระประธานซึ่งเป็นพระพุทธชิน ราชจำลอง และพระพุทธชินราชอีก ๑๐๙ องค์บริเวณรอบโบสถ์จะมีรูปปั้นช้าง และรูปนกยูงรูปพญานาคเป็นงานศิลปะที่อลังการสร้างตามแบบความเชื่อของวัฒนธรรมต่างสมัยโดยมีนัยว่าบุคคลใดได้เข้าไปในโบสถ์และได้ร่วมสมทบทุนก่อสร้างผู้นั้นจะเป็นผู้ที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยพิบัตินานัปการและจะอุดมได้ด้วยลาภยศ ผลพูนทวีมั่งมีศรีสุข ซึ่งใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า ๕๐ ล้านบาท จนสำเร็จลุล่วงไปแล้วซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กๆสำหรับวัดที่อยู่ห่างไกล เกือบติดชายแดนพม่า
ด้วยความที่เป็นพระนักพัฒนาในขณะนี้หลวงพ่อเพชรท่านได้เริ่มก่อสร้างสำนักสงฆ์แห่งใหม่บนยอดเขาแปดเหลี่ยม อ. สวนผึ้ง จ.ราชบุรีสำนักสงฆ์แปดเหลี่ยมยังขาดปัจจัยอีกจำนวนมากในการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ในระยะเวลาที่ผ่านมา ในส่วนของฐานรากได้สำเร็จไปแล้วและได้กำลังดำเนินการในส่วนต่างๆต่อไป
สำนัก สงฆ์แปดเหลี่ยมเหลี่ยมแห่งนี้เดิมที่หลวงปู่หลิว ได้ซื้อไว้เพื่อที่จะทำ เป็นสำนักสงฆ์ แต่ท่านได้มรณภาพเสียก่อนหลวงพ่อเพชรผู้ซึ่งเป็นศิษย์ที่ทราบวัตถุประสงค์ของหลวงปู่เป็นอย่างดีท่านจึงได้ดำเนินการสานต่อตามความคิดเดิมของหลวงปู่หลิว สำนักสงฆ์แปดเหลี่ยมอยู่ในเขต อ.สวนผึ้งมีบรรยากาศสงบอากาศดีเหมาะสำหรับบำเพ็ญเพียรวิปัสสนาอย่างยิ่งที่นี่ไม่มีทั้งไฟฟ้าน้ำประปามองไปทางไหนก็มีแต่ทิวเขาสามารถมองเห็นแนวเขาที่กั้นชายแดนระหว่างไทยกับพม่า