หลวงพ่อทอง พุทธสุวัณโณ วัดดอนสะท้อน
ข้อมูลประวัติ
เกิด ประมาณปี พ.ศ.2415
อุปสมบท –
มรณภาพ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2495
รวมสิริอายุ ประมาณ 80 ปี
เด็กชายทอง เกิดในครอบครัวชาวนาฐานะพอปานกลาง การศึกษาเบื้องต้นเหมือนเด็กชนบททั่วไป ที่ต้องไปเสาะแสวงหาความรู้ที่วัดต่างๆเด็กชายทองก็เช่นเดียวกัน ย่างเข้าวัยหนุ่มหลังจากเสร็จฤดูทำนาแล้ว ได้ชวนเพื่อนไปร่ำเรียนวิชาเพื่อเอาไว้ป้องกันตัว ตามลักษณะนิสัยของหนุ่มๆสมัยนั้น และเต็มใจบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อศึกษาที่วัดอินทคีรี หมู่ที่ ๗ ตำบลพรหมโลก ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก และอุปสมบทที่วัดนี้ได้รับฉายาว่า “พุทฺธสุวณฺโณ” แปลว่า “ผู้มีผิวพรรณดีดั่งพระพุทธเจ้า” โดยอยู่จำพรรษาอยู่ประมาณ ๒ พรรษา หลังจากนั้นได้ขออนุญาตอาจารย์เพื่อจาริกออกหาความรู้เพิ่มเติม จึงมาเรียนอยู่ที่วัดพระบรมธาตุอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ๒ พรรษา แล้วเดินทางไปยังจังหวัดพัทลุงเพื่อหาสำนักเรียนต่อไป ที่พัทลุงหลวงพ่อได้มาฝากตัวกับพระอาจารย์จันทร์ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่ดังขณะนั้น อยู่พำนักและศึกษาวิชากับท่านพอสมควร พระอาจารย์จันทร์จึงฝากหลวงพ่อให้เป็นศิษย์เรียนวิชาต่อกับพระอาจารย์ทอง (ครูทองเฒ่า) วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นเพื่อนสหธรรมิกของพระอาจารย์จันทร์
ที่วัดเขาอ้อหรือสำนักเขาอ้อ อันเป็นสำนักเรียนที่เลื่องชื่อที่สุดแห่งจังหวัดพัทลุง หลวงพ่อได้สหธรรมิกที่แก่พรรษากว่า คือ หลวงพ่อเอียด อริยวํโส วัดคงคาวงศ์ (พระอาจารย์ของขุนพันธรักษ์ราชเดช) และเป็นสหธรรมิกที่รู้ใจกันมากที่สุด เห็นได้จากระยะหลังจากหลวงพ่อมาอยู่ที่วัดดอนสะท้อน ก็เดินทางไปมาหาสู่กับหลวงพ่อเอียดอยู่เป็นนิตย์ และได้ทดสอบวิชาที่เรียนมาด้วยกันบ่อยๆ
หลังจากที่หลวงพ่อเล่าเรียนวิชาจากสำนักเขาอ้อจนแตกฉานแล้ว ตั้งใจเดินทางออกธุดงค์ขึ้นไปภาคกลาง โดยเดินทางตามทางรถไฟมาเรื่อย จนมาถึงจังหวัดหลังสวน (ปัจจุบันคืออำเภอหลังสวน) หลวงพ่ออยู่จำที่วัดดอนชัยประมาณ ๒ พรรษา ระหว่างนี้ได้รู้จักและแลกเปลี่ยนวิชาที่ร่ำเรียนมากับเพื่อนสหธรรมิกหลายรูป เช่น หลวงพ่อพัน วัดในเขา, หลวงพ่อจีต วัดถ้ำเขาพลู, หลวงพ่อพลอย วัดเชิงคีรี เป็นต้น
จากนั้นหลวงพ่อออกเดินทางมาถึงอำเภอสวี ได้แวะพักจำที่วัดพระธาตุสวี จึงออกเดินทางต่อมายังวัดดอนสะท้อน ระหว่างที่พักจำอยู่ที่นี่หลวงพ่อได้สงเคราะห์ชาวบ้านแถบนี้เป็นอันมาก ด้วยพุทธคุณที่ท่านได้ร่ำเรียนมาทุกครั้งไป จนชาวบ้านนิมนต์ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนสะท้อน นับต่อจากหลวงพ่อพันซึ่งท่านได้ไปสร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า “วัดหน้าเมรุ” ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก (ปัจจุบันยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่)
ระหว่างที่หลวงพ่ออยู่ที่นี่ ด้วยสติปัญญาและพุทธคุณที่หลวงพ่อมีอยู่ ได้ทำนุบำรุงวัดให้เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง สร้างศาสนสถานหลายอย่างและยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งเป็นกำลังหลักในการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุสวี รวมทั้งตั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา(ประชาบาล)ขึ้นครั้งแรกที่นี่ เข้าใจว่าหลวงพ่อคงมีเจตนาที่ดีและความเมตตาแก่เด็กชนบทที่ไม่ค่อยได้รับการศึกษาเท่าที่ควร และเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนที่ ๖ ของจังหวัดชุมพร (ป.ชพ.๖) ปัจจุบันได้ทำการรื้อถอนเรียบร้อยแล้ว
ด้วยอำนาจพุทธคุณ หลวงพ่อเป็นที่รู้จักในฐานะเกจิอาจารย์สายใต้ ได้รับนิมนต์เข้าร่วมปลุกเสกหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานครก็หลายครั้ง จนเป็นสุดยอดเกจิอาจารย์ ๑๐๘ แห่งแผ่นดินสยาม มีศิษยานุศิษย์จำนวนมากหลายฐานะหลายอาชีพ
หลวงพ่อท่านมรณภาพลงที่วัดดอนสะท้อน เมื่อตอนสายของวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๙๕ ตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๔ รวมสิริอายุ ๗๘ ปี ในงานฌาปนกิจศพหลวงพ่อได้มีญาติโยมศิษยานุศิษย์มาร่วมอย่างล้นหลาม เสร็จงานแล้วต่างก็แย่งกันเก็บอัฏฐิ(กระดูก)หลวงพ่อเพื่อนำไปบูชาและระลึกถึง รวมทั้งให้ช่างปั้นปูนฝีมือดีจากบ้านทุ่งคาใช้นามศิลปินว่า “ก.ทุ่งคา” ปั้นรูปเหมือนหลวงพ่อเพื่อไว้กราบไหว้สักการะ ตอนนี้รูปปั้นเหมือนหลวงพ่อประดิษฐานอยู่บนมณฑปตรีมุข ที่สร้างถวายโดยหลวงพ่อแช่มเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน และจัดงานรำลึกหลวงพ่อทุกวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๔ ของท
เหรียญห้อยคอ เป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องรางของขลังที่ชายชาตรีส่วนมากต้องมีไว้กับตัว จะด้วยมีไว้เพื่อปกป้องคุ้มครองตัวเอง ด้วยอำนาจพุทธคุณของเหรียญนั้นๆ ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าแคล้วคลาดปลอดภัย หรือมีสะสมไว้เพราะความชอบ ผู้ชายส่วนมากจะนิยมชมชอบพระเครื่อง บ้างก็ชอบเพราะความสวยงามในการออกแบบ ชอบในความเป็นของเก่าน่าสะสม หรือชอบเพราะตนเองมีความเคารพศรัทธาในพระเกจิท่านนั้นๆ จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ สรุปว่าสำหรับคนที่ชอบพระเครื่องแล้ว ถึงไม่มีไว้ในครอบครองก็ขอให้ได้ชมสักครั้ง เท่านี้ก็อิ่มตาอิ่มใจกันแล้ว สำหรับเหรียญของหลวงพ่อทองนั้น ได้เป็นที่รู้จักไม่เฉพาะแต่นักสะสมพระเครื่องในภาคใต้เท่านั้น แต่เป็นที่ติดตามเสาะหาของเซียนพระเครื่องทั่วประเทศด้วย
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยม
ข้อมูลอ้างอิงจาก : p.moohin.com