ท่านเจ้าคุณนรฯ (พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต) วัดเทพศิรินทร์
ประวัติชีวิต ของ ท่านเจ้าคุณนรฯ พระอรหันต์กลางกรุงแห่งวัดเทพศิรินทร์
ท่าน ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ” เจ้าคุณนรฯ” หรือพระยานรรัตนราชมานิต เป็นผู้มีความกตัญญูสูงสุด มีสัจจะมั่นคง มีขันติวิระยะแรงกล้า มีเมตตา และทรงคุณธรรมอันประเสริฐ สามารถปฏิบัติธรรมสำเร็จผลสูงสุด ท่านจึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้นสาธุชนได้เคารพกราบไหว้สักการะบูชา ในฐานะผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และปฏิบัติออกจากทุกข์โดยแท้จริง
พระ ยานรรัตนราชมานิต มีนามเดิมว่า ตรึก จินตยานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 ที่บ้านใกล้วัดโสมนัสวรวิหาร กรุงเทพฯ เป็นบุตรของพระนรราชภักดี (ตรอง จินตยานนท์ ) และนางนรราชภักดี ( พุก จินตยานนท์) ศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดโสมนัสฯ ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ชั้นอุดมศึกษาที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนหอวัง (ต่อมาได้ยกฐานะเป็นจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ) ได้รับประกาศนียบัตรในวิชารัฐศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้เข้าซ้อมรบเสือป่าที่ค่ายหลวง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรและพอพระราชหฤทัยจึงโปรดเกล้าฯ รับสั่งชวนให้เข้ารับราชการในราชสำนักนับแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านได้เข้ารับราชการเริ่มแรกในกรมมหาดเล็กหลวง แผนกตั้งเครื่อง ตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 และในระยะเวลาเพียง 9 ปี ท่านก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯให้เป็นเจ้ากรมห้องพระบรรทม มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยานรรัตนราชมานิต เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ขณะที่มีอายุ 25 ปี และได้เป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2467
ท่าน มีความสนใจขวนขวายแสวงหาวิชาความรู้อยู่เสมอ โดยเฉพาะด้านภาษานอกจากนี้ได้แก่ศิลปการป้องกันตัว โยคศาสตร์ ซึ่งวิชาเหล่านี้ได้เป็นประโยชน์ต่อการรับราชการและสุขภาพของท่านในเวลาต่อ มา
ในตำแหน่ง ต้นห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านได้ปฏิบัติงานด้วย ความวิริยะอุตสาหะ ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ถวายชีวิตและความสุขส่วนตัว เพื่อพระองค์ท่านด้วยความจงรักภักดีและความกตัญญูเป็นที่ยิ่ง ด้วยความเอาใจ ใส่ต่อราชการ จึงทำให้ท่านก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างรวดเร็ว
ท่านเจ้าคุณ นรรัตนราชมานิต รับราชการจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ขณะนั้น ท่านมีทั้งฐานะ ทั้งทรัพย์สมบัติ และโอกาสที่จะหาความเจริญในทางโลกต่อไปอย่างพร้อมมูล แต่ท่านได้สละทุกสิ่งทุกอย่างออกอุปสมบท เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวาย แด่สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2468 ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) เป็นพระอุปัชฌาชย์ ได้รับฉายาทางสมณเพศว่า “ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ” และท่านก็ได้ครองสมเพศตลอดมาจนถึงมรณภาพ
เมื่ออยู่ในสมณเพศ ท่านธมฺมวิตกฺโก มีชีวิตโดยเคร่งครัดในศีล และการประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านไปลงโบสถ์ทำ วัตรเช้าและเย็นวันละ 2 ครั้ง และไม่ออกนอกวัดเพื่อไปในงานหรือกิจการใด ไม่พบปะพูดคุยกับผู้ใดนัก นอกจากการสนทนาธรรม ซึ่งท่าน ยินดีจะให้คำตอบและอธิบายอย่างเต็มใจเท่าที่สามารถกระทำได้ และเนื่องจากท่านเป็นสมณะที่เคร่งครัด อุดมไปด้วยศีลาจารวัตรที่งดงาม จึงมีผู้คนไปขอพรท่านเป็นจำนวนมาก จนท่านได้เขียนโอวาทไว้ว่า “ทำดี ดีกว่าขอพร” คือให้ทุกคนตั้งใจพยายามทำแต่กรรมดี โดยไม่มี ความเกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ เลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความสุขและมีความเจริญสำเร็จสมประสงค์
ตลอดระยะ เวลาที่ท่านอยู่ในสมณเพศเป็นระยะเวลา 46 ปีเต็ม นับได้กว่า15,000 วัน ไม่มีวันใดเลยที่ท่านจะว่างเว้นจากการ กรวดน้ำอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และในวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันเสด็จสวรรคต ของพระองค์ ท่านธมฺมวิตกฺโก ก็จะงดเว้นการฉันอาหาร 1 วัน และนั่งกระทำสมาธิตลอดคืน เพื่อน้อมจิตอุทิศถวายกุศลผลบุญที่ได้ปฏิบัติมา โดยตลอด แด่พระองค์ท่านและได้บำเพ็ญกุศลต่างๆ เพื่อน้อมอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลอีกเป็นอเนกประการ
ส่วนสมเด็จพระพุทธโฆ ษาจารย์ พระอุปัชฌาชย์ ท่านธมฺมวิตกฺโก มีความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งเพราะท่านเป็นพระเถระ ที่สงบเคร่งครัดต่อการประพฤติปฏิบัติและมีเมตตาสูง ท่านได้เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนอย่างเคร่งครัดและรับใช้ ใกล้ชิด ในสิ่งที่พึงปฏิบัติได้ ครั้นเมื่อ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ถึงแก่มรณภาพ งานบำเพ็ญกุศล วันคล้ายวันมรณภาพวันที่ 8 มิถุนายน เวียนมาถึงแต่ละปี ตอนเช้าท่านธมฺมวิตกฺโก จะเดินส่งอัฐิที่อัญเชิญเข้าประดิษฐานในพระอุโบสถเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด และรับเป็นเจ้าภาพเครื่องไทยธรรมสำหรับถวาย พระสวดมนต์และพระเทศน์เป็นประจำตลอดชีวิต
นอกจากนี้ท่านธมฺมวิตกฺโก ยังมีความกตัญญูกตเวที โดยเฉพาะกับบุพการีและผู้มีพระคุณเป็นอย่างยิ่งเมื่อครั้งที่ยังรับราชการ ทุกคราวที่มาถึงบ้านและกลับไปเข้าวัง จะต้องมากราบคุณแม่และคุณยายทั้งขามาและขากลับ เงินเดือนที่ได้รับจากการทำงาน จะนำมามอบ ให้คุณแม่ทั้งหมด แล้วขอไปใช้ส่วนตัวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อีกทั้งอบรมสั่งสอนให้น้องๆ ช่วยเหลือดูแลคุณพ่อ,คุณแม่และคุณยายเพื่อตอบ แทนพระคุณ จึงนับได้ว่าท่านเป็นคนที่มีความกตัญญูอย่างแท้จริง
ตั้งแต่ท่าน ธมฺมวิตกฺโก อุปสมบท ไม่เคยปรากฎว่า ท่านแสดงธรรมเทศนาที่ใด แม้โอวาทของท่านก็มีเพียงสั้นๆ แต่ท่าน จะฟังเทศน์ที่พระเณรรูปอื่นเทศน์ในพระอุโบสถ โดยความเคารพอย่างสูงทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า การเคารพธรรมอย่างสูงไม่ควรเลือกว่าใครพูด ใครแสดง ถ้าเป็นธรรมประกอบด้วยเหตุผลของท่านผู้รู้แล้ว
ประเสริฐทั้งสิ้น
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม และแคล้วคลาด
ข้อมูลอ้างอิงจาก : buddhakhun.org