(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)วัดญาณเวศกวัน
ประวัติท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฏก (ป. อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร เกิดเมื่อ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี บรรพชาเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ๒๔๙๔ ที่วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ และเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดนั้น ต่อมา พ.ศ.๒๔๙๕ ไปอยู่ที่วัดปราสาท ทอง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เรียนพระปริยัติธรรมต่อ และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกที่จัดขึ้นแล้ว พระอาจารย์ผู้นำปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำใน สำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม
จากนั้น พ.ศ.๒๔๙๖ ได้มาอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรม จนสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ขณะยังเป็น สามเณร จึงได้รับการอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์เป็น นาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๔ แล้วสอบได้ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ ๒๕๐๕ และสอบได้วิชาชุด ครู พ.ม. เมื่อ ๒๕๐๖
ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันการศึกษา ๑๒ สถาบัน ดังนี้
๑) พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕
๒) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙
๓) ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๙
๔) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์-การสอน) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๐
๕) อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๑
๖) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๑
๗) การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๓
๘) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๖
๙) ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๗
๑๐) ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ จากนวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๑) อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๒) วิทยาศาสตร์ดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๔๑
เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๗ และเป็นเจ้าอาวาส วัดพระพิเรนทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗
ประกาศเกียรติคุณและรางวัล
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับรางวัลวรรณกรรมชั้นที่ ๑ ประเภทร้อยแก้ว สำหรับงานนิพนธ์พุทธธรรม จากมูลนิธิธนาคาร กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานโล่รางวัล มหิดลวรานุสรณ์
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับโล่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา ในวาระครบรอบ ๒๐ ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การ ยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศเชิดชูเกียรติเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม
พ.ศ.๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ถวายรางวัล TTF Award สาขาสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา สำหรับผลงานทางวิชาการดีเด่น หนังสือ การพัฒนาที่ยั่งยืน
พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาพุทธศาสนา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี
พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเวที
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายก ปาพจนดิลกนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
งานเผยแพร่พระพุทธศาสนา
งานเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระธรรมปิฎกปรากฏในหลายลักษณะ ทั้งในด้านการสอน การบรรยาย การปาฐกถา การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแสดงพระธรรมเทศนา
พ.ศ.2505-2507 สอนในแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ.2507-2517 สอนในชั้นปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างนั้น บางปี บรรยายที่ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโครงการศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ.2507-2517 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ และต่อมาเป็น รองเลขาธิการมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ.2515-2519 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์
พ.ศ.2537 เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม จนปัจจุบัน
ท่านได้รับอาราธนาไปสอนวิชาการทางพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศหลายครั้ง อาทิ
University Museum, University of Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๕
Swarthmore College, Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๙
และ Harvard University ใน พ.ศ. ๒๕๒๔
และเป็นพระสงฆ์ไทย ที่ได้รับ การระบุอาราธนาแสดงปาฐกถาในที่ประชุมนานาชาติ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศหลายครั้ง เช่น
ปาฐกถาในการประชุม The International Conference on Higher Education and the Promotion of Peace เรื่อง Buddhism and Peace ซึ่งจัดขึ้นที่ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
บรรยายในการประชุม Buddhistic Knowledge Exchange Programme in Honour of His Majesty the King of Thailand เรื่อง Identity of Buddhism ซึ่งจัดโดยองค์การ พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) เมื่อ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๐
ปาฐกถาในการประชุม The Sixth Asian Workshop on Child and Adolescent Development เรื่อง Influence of Western & Asian Thought on Human Culture Development เมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓
ได้รับนิมนต์ให้จัดทำสารบรรยายสำคัญ เรื่อง A Buddhist Solution for the Twenty-first Century ในการประชุมสภาศาสนาโลก (Parliament of the World’s Religions) ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เมื่อ ๔ กันยายน ๒๕๓๖
งานนิพนธ์ของพระธรรมปิฎก ในลักษณะตำรา เอกสารทางวิชาการและหนังสืออธิบายธรรมทั่วๆ ไป เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในวงวิชาการ มีจำนวนมากกว่า ๒๒๗ เรื่อง เช่น พุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์: ฉบับประมวลธรรม พจนานุกรมพุทธศาสน์: ฉบับประมวลศัพท์ ธรรมนูญชีวิต การศึกษาของคณะสงฆ์: ปัญหาที่รอทางออก การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย Thai Buddhism in the Buddhist World ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย Buddhist Economics พุทธศาสนาในฐานะเป็น รากฐานของวิทยาศาสตร์ นิติศาสตร์แนวพุทธ เป็นต้น
นอกจากนั้น พระธรรมปิฎกได้รับนิมนต์เป็นที่ปรึกษาของ มหาวิทยาลัย มหิดล ในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์สำเร็จสมบูรณ์เป็นฉบับแรกของโลก ทำให้การศึกษาค้นคว้าหลัก คำสอน ของพระพุทธศาสนาเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ
ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com